วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

นานาสัตว์ในสำนวนไทย งูเงี้ยวเขี้ยวขอ




สำนวนไทยที่พูดถึงงูนั้นไม่ได้แยกไว้ว่าสำนวนไหนเป็นงูใหญ่หรืองูเล็ก จึงขอพูดถึงสำนวนที่เกี่ยวกับงูอย่างรวม ๆ กันไป สำนวนที่กล่าวถึงมะโรงมะเส็งโดยตรงคือ สำนวน โกงมะโรงมะเส็งหรือขี้โกงมะโรงมะเส็งกาญจนาคพันธุ์ นักปราชญ์ทางภาษาได้สันนิษฐานไว้ว่า สำนวนนี้ไม่น่าจะมีอะไรเกี่ยวข้งกับปีมะโรงและปีมะเส็ง แต่น่าจะมาจากคำโบราณว่าเกเรเร็งเส็งคำว่า เร็ง” (ร-เรือสระเอะ-ง งู) แปลว่าเร็วหรือถี่ คำว่า เส็งแปลว่าพาลเกเรแกะกะ มีอีกคำหนึ่งที่คล้ายกันคือคำ เส็งเคร็งแปลว่าเลว ไม่ดี คำว่า เร็งเส็งอาจจะเป็นคำที่พูดกันมาแต่โบราณ หมายถึง เลว เมื่อนำมารวมกับคำเกเรก็เป็นคำว่า เกเรเร็งเส็งหมายความว่า ประพฤติเกเร เลวมาก ต่อมาคำว่าเร็งเส็งคงนำมาใช้ในความหมายว่า โกงซึ่งมีเสียงคล้องจองกับคำว่า โรงในคำว่า ปีมะโรงจึงกลายเป็นสำนวน โกงมะโรงมะเส็งหมายถึงคดโกงกลับกลอกที่สุด
แม้งูบางชนิดจะไม่มีพิษ แต่ขึ้นชื่อว่างูแล้ว เรามักจัดมันอยู่ในพวกสัตว์อันตรายคนไทยชอบพูดซ้ำคำ บางครั้งซ้ำรูปคำ บางครั้งซ้ำความหมาย เงี้ยวหมายถึงงู เมื่อพูดถึงงูบางครั้งจึงพูดว่า งูเงี้ยวนอกจากนั้นเรายังพูดต่อด้วยถ้อยคำคล้องจองเป็นสำนวนว่า งูเงี้ยวเขี้ยวขอหมายถึงสัตว์มีพิษเช่น งู เป็นต้น

การเล่นคำเล่นจังหวะและเล่นเสียงสัมผัส ยังมีปรากฎอีกสำนวนว่า งูพิษมิตรคดมิตร หมายถึงเพื่อน แต่บางครั้งเพื่อนก็คิดคดทรยศต่อเพื่อนได้ เพื่อนที่คิดคด จึงเปรียบเสมือนงูพิษ สำนวนว่างูพิษมิตรคดจึงหมายถึงคนชั่วไม่ควรไว้วางใจ นอกจากนั้น ยังมีสำนวนที่กล่าวเป็นการเตือนใจไว้ว่า อย่าลากงูตามหลังหมายถึงอย่าคบคนชั่วเป็นเพื่อนนั่นเอง

งูเป็นสัตว์ร้าย เมื่อพบงูเราจึงหาทางกำจัด วิธีการกำจัดงูที่มักทำกันทั่วไป คือ การตี คนโบราณสอนไว้ว่า อย่าตีงูข้างหางหรือ อย่าจับงูข้างหางเพราะงูอาจหันมาฉกกัดเอาได้ สำนวนว่าตีงูข้างหาง จึงหมายถึง ทำอะไรไม่เหมาะไม่ควรจะเกิดอันตรายได้ นอกจากนั้นคนโบราณท่านยังสอนไว้อีกว่า ตีงูต้องตีให้ตาย เพราะเชื่อกันว่า งูเป็นสัตว์ที่มีความอาฆาตพยาบาทรุนแรง ถ้าทำให้บาดเจ็บแต่ไม่ถึงตาย มันจะกลับมาแก้แค้นภายหลัง ดังสำนวนว่า ตีงูให้หลังหักหมายถึงการทำสิ่งใดแก่ศัตรูโดยไม่เด็ดขาด จริงจัง ย่อมจะได้รับผลร้ายภายหลัง
นอกจากนั้นยังมีสำนวนเกี่ยวกับการตีงูอีกสำนวนหนึ่ง คือ การตีงูจนตายแต่เป็น ตีงูให้กากินขยายความได้ว่า เมื่อเราตีงู งูอาจจะกัดผู้ตี การตีงูให้ตายเป็นการทำบาป ซากงูก็ทำประโยชน์อะไรไม่ได้ ต้องตกเป็นอาหารของแร้งกา สำนวนนี้จึงหมายถึง การลงแรงทำสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์แก่ตนซ้ำบางครั้งอาจเกิดโทษด้วย แต่ประโยชน์ที่ได้จากการกระทำนั้นกลับไปตกแก่ผู้อื่น การขว้างสิ่งต่าง ๆ เป็นการปาสิ่งนั้นออกไปให้พ้นตัว แต่การขว้างสิ่งของที่มีความยาว เช่น เชือกให้ออกไปไกลตัวจะทำให้ลำบาก เพราะปลายเชือกอาจตวัดมาโดนตัวได้ ยิ่งเป็นการขว้างสิ่งมีชีวิต เช่น งูด้วยแล้ว ยากที่จะขว้างให้พ้นไปได้ง่าย ๆ ปกติเมื่อนึกถึงงู เรามักจะนึกถึงความดุร้าย ความชั่วร้าย ความไม่ดี ดังนั้นสำนวนว่า ขว้างงูไม่พ้นคอจึงหมายถึงปัดเรื่องร้ายออกไปไม่พ้นตัว หรืออาจหมายถึง ทำอะไรแล้วผลร้ายย้อนกลับมาสู่ตนเองได้
งูเป็นสัตว์ที่มีลำตัวยาว ปกติหัวงูกับหางงูจะอยู่กันคนละทาง แต่เมื่อหัวงูหันมาทางหางภาพที่เห็นคือเส้นของลำตัวงูที่มาต่อกันเป็นวง เกิดเป็นสำนวนว่า งูกินหางซึ่งหมายถึงวนเวียนไม่รู้จักจบสิ้น บางครั้งอาจหมายถึง พัวพันกันยุ่งเหยิง หรือเกี่ยวโยงกันไปเป็นทอด ๆ
บางคนเชื่อว่าตาของงูมีอำนาจ เมื่องูมองเหยื่อ เช่น กบ เขียด จะเหมือนมีพลังสะกดสัตว์เหล่านั้นให้อยู่กับที่ หรืออาจเป็นเพราะสัตว์เหล่านั้น ตกใจ ตกตะลึง ไม่แน่ใจว่างูที่กำลังจ้องเป๋งมาที่ตนเองนั้นจะมาไม้ไหน งูก็ใช้โอกาสนั้นฉกกัดเหยื่อได้โดยง่าย บางคนจึงเปรียบงูกับการมีเล่ห์เหลี่ยม พลิกแพลง เจ้าเล่ห์เพทุบาย ความหมายในแง่นี้ปรากฏอยู่ในสำนวน เฒ่าหัวงูซึ่งใช้ในความหมาย คนแก่เจ้าเล่ห์ หรือคนอายุมากที่มีเล่ห์กลมีอุบายในการหลอกเด็กสาว ๆ ส่วนมากสำนวนเฒ่าหัวงูใช้ในเชิงชู้สาว เมื่อพูดถึงงูงู ทำให้นึกถึงสำนวนไทยอีกสำนวนหนึ่ง ซึ่งเราไม่ค่อยนำมาใช้บ่อยนัก คืองูเห่านอนซ่อนเศียรเป็นการเปรียบงูกับคนชั่ว ซ่อนเศียร คือ ซ่อนพิษร้าย ซ่อนความชั่วร้ายเอาไว้ สำนวนนี้จึงหมายถึงคนชั่วซ่อนความร้ายกาจเอาไว้

มีคำเกี่ยวกับงูที่คนไม่ค่อยรู้จักกันอยู่คำหนึ่งคือเฆาะงอกับงูเฆาะ (ฆ ระฆังสระเอาะ) เป็นลายสักโบราณมีตัวอักษร ฆ ระฆัง และง งู มีลายอุณาโลม ๙ (คล้ายเลขเก้าไทย) อยู่ข้างบนลักษณะของรูปอุณาโลมเป็นลายขดคล้ายงู การสักตัวอักษร ฆง (ฆ ระฆัง ง งู มีลายอุณาโลมอยู่ข้างบน)นี้ จึงเรียกกันทั่วไปว่า เฆาะงอกันงูเชื่อกันว่าเป็นการสักเพื่อให้อยู่ยงคงกระพัน

เมื่ออยู่ยงคงกระพันแล้วจะกลัวอะไร บางคนอาจไม่กลัวตายกล้าไปล้วงคองูเห่า สำนวนว่า ล้วงคองูเห่าหมายถึง อุกอาจ ล่วงล้ำ กล้าเข้าไปเกี่ยวข้องหรือเอาสิ่งของต่าง ๆ ของผู้มีอำนาจโดยไมเกรงกลัว พูดง่าย ๆ ก็คือ การกระทำการล่วงอำนาจของผู้ที่เหนือกว่าได้
เมื่อเห็นของที่มีลักษณะหลายแบบหลายอย่างปนกันอยู่ดูไม่เข้ากัน เป็นคนละพวกกัน เรามักจะเรียกว่า หัวมังกุฏท้ายมังกรแต่สำสวนนี้เป็นสำนวนที่ใช้กันผิดเพี้ยนจนเป็นความเคยชินและคิดว่าถูกต้อง อันที่จริงควรใช้ว่า หัวมังกุท้ายมังกรเพราะมังกุเป็นสัตว์ในนิยาย แต่จะมีรูปร่างอย่างไรไม่มีหลักฐานบ่งบอกไว้ ทราบกันแต่เพียงว่าสมัยโบราณมีเรือมังกุ ซึ่งกาญจนาคพันธุ์นักปราชญ์ทางภาษาสันนิษฐานว่า คงเป็นเรือที่มีการทำหัวเรือเป็นมังกุซึ่งเป็นสัตว์ในนิยายส่วนท้ายเรือทำเป็นรูปมังกร เรียกเรือลักษณะแบบนี้ว่า เรือหัวมังกุท้ายมังกร ต่อมาสำนวนนี้จีงหมายถึง สิ่งที่มีลักษณะผสมของแบบที่แตกต่างกันไม่เข้ากัน ไม่กลมกลืนกัน อักษราก็เลยขอนำสำนวนนี้มาอยู่ในกลุ่มของสำนวนที่เกี่ยวกับงูไปด้วยเลย
ชึ้นชื่อว่างู ไม่ว่าจะเป็นงูตัวเล็กหรืองูตัวใหญ่ ก็ล้วนแต่เป็นอันตราย ต้องระมัดระวัง ต้องบอกว่า ขออย่าได้พบพานงูเงี้ยวเขี้ยวขอเห็นจะดีที่สุด


ชึ้นชื่อว่างู ไม่ว่าจะเป็นงูตัวเล็กหรืองูตัวใหญ่ ก็ล้วนแต่เป็นอันตราย ต้องระมัดระวัง ต้องบอกว่า ขออย่าได้พบพานงูเงี้ยวเขี้ยวขอเห็นจะดีที่สุด

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ดีมากครับ