วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

ขนมไทย ตอน อาหารพื้นเมืองจังหวัดภูเก็ต



ตู่โบ้ :

ตู่โบ้ หรือรวมมิตร กะทิ เป็นของหวานชนิดหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยมันต้ม เผือก ฟักทอง และถั่วแดง เม็ดเล็กๆ (คนภูเก็ตเรียกว่า ถั่วย้อแย้)


ตู่โบ้









ขนมหัวล้าน เป็นขนมพื้นบ้านภาคใต้ชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งข้าวเหนียวห่อไส้ที่ทำมาจากถั่วเขียวนึ่งบด กวนกับมะพร้าวขูดและน้ำตาล ปั้นเป็นรูปกลม นำไปนึ่งให้สุก ราดด้วยกะทิ ถ้าไม่นึ่งแต่นำไปทอดเรียกขนมหัวล้านทอด



ขนมหัวล้าน






ขนมเต้าส้อ ขนมพื้นเมือง ดั้งเดิมของชาวภูเก็ตขนมเต้าส้อ หรือ ขนมเปี๊ยะเปลือกแป้งบางสูตรฮกเกี้ยน ไส้ทำจากถั่วเขียวบด เปลือกขนมทำจากแป้งสาลี มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีให้เลือกรับประทาน 2 รสชาติ เต้าส้อหวาน ไส้ทำจากถั่วเขียวบดคลุกเคล้ากับน้ำตาลแบะแซ กลิ่นหอมจากถั่ว รสหวานจากแบะแซ และ เต้าส้อเค็ม ไส้ทำจากถั่วเขียวบด คลุกเคล้ากับหอมเจียวเคี่ยว รสหวานจากแบะแซ ขนมเต้าส้อจะรสชาติดียิ่งขี้นเมื่อ
รับประทานคู่กับชาจีน

ขนมพื้นเมืองของชาวภูเก็ต มีที่มาจากชาวจีนโพ้นทะเลในมนฑลฮกเกี้ยน ได้อพยพเข้ามาทำเหมืองแร่ดีบุกในเมืองถลาง (ภูเก็ต) ประมาณปี พ.ศ. 2368 (รัชกาลที่ 3 ) ทำให้เกิดการเปลี่ยนผสมผสานขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม ระหว่างชนพื้นเมือง ชาวจีน ชาวยุโรป ดังปรากฏให้เห็น เช่น สถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีส ที่ถนนถลาง อีกทั้งวัฒนธรรมอาหารการกินขนมพื้นเมือง เช่น ขนมเต้าส้อ ที่ยังคงเอกลักษณ์ ในรสชาติความอร่อยไม่เปลี่ยนแปลง
ส่วนประกอบสำคัญ: แป้งสาลี, ถั่วเขียว , ถั่วดำ, ถั่วแดง, น้ำตาล, น้ำมันพืช








โอ้เอ๋ว หรือ โอ๊ะเอ๋ว เป็นอาหารท้องถิ่นของจังหวัดภูเก็ต ได้จากวุ้นของเมล็ดโอ้เอ๋ว (คล้ายเมล็ดแมงลัก Ficus pumila var. awkeotsang หรือ Ficus awkeotsang) ที่แช่น้ำแล้วใช้เมือกโอ้เอ้วมาผสมกับเมือกของกล้วยน้ำว้า ใส่เจี่ยกอเพื่อให้โอ๊ะเอ๋ว เกาะตัวเป็นก้อน นำมาใส่น้ำเชื่อมและน้ำแข็งใส กินแก้ร้อนใน และลดการกระหายน้ำ

ชาวภูเก็ตจะรับประทานโอ้เอ๋ว สามแบบ คือ โอ้เอ๋วใส่ถั่วแดงและเฉาก๊วย (ขาว ดำ แดง) โอ้เอ๋วใส่ถั่วแดง (ขาว แดง) และ โอ้เอ๋วใส่เฉาก๊วย (ขาว ดำ)บางคนนิยมใส่กล้วยและน้ำหวานด้วย แหล่งขายโอ้เอ๋วในจังหวัดภูเก็ตที่สำคัญคือ โรงหนังสยามเก่า และซอยหล่อโรงหรือตลาดฉำฉา

โอ้เอ๋วเป็นขนมหวานพื้นเมือง มีลักษณะเป็นวุ้นเหนียวราดน้ำเชื่อมใส่น้ำแข็งใส แต่ความจริงแล้วโอ้เอ๋วไม่ใช่วุ้น มีส่วนผสมหลักคือ กล้วยน้ำว้าผสมกับเมล็ดโอ้เอ๋ว (คล้ายเม็ดแมงลัก) โดยนำเมล็ดโอ้เอ๋วมาแช่น้ำ แล้วนำเอาเฉพาะเมือกมาใส่เจี่ยกอ (เป็นส่วนผสมสำคัญในการทำเต้าฮวยกับเต้าหู้) เพื่อให้โอ้เอ๋วเกาะตัวกันเป็นก้อนคล้ายวุ้น แล้วนำมารับประทานกับน้ำแข็งใส มีรสชาติหอมชื่นใจ โอ้เอ๋วนี้มีสรรพคุณแก้ร้อนในได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญ คือ มีขายเฉพาะที่ภูเก็ตแห่งเดียวในประเทศไทย




 
โอ้เอ๋ว หรือ โอ๊ะเอ๋ว




ขนมเต่าสีแดง(อั่งกู้) งานพ้อต่อ สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับงานนี้ก็คือ ขนมเต่าสีแดง หรือที่เรียกว่า อั่งกู้ เรียกได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของงานนี้เลย ซึ่งประชาชนจะทำมาเซ่นไหว้ ทำด้วยแป้งข้าวสาลี ผสมกับน้ำตาล ปั้นเป็นตัว หรือเข้าพิมพ์อัดเป็นรูปเต่า ขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้าง แล้วย้อมด้วยสีแดง บ้างคนที่มีฐานะทำมาถวายมีขนาดใหญ่มากๆ ถ้าคนทั่วๆไปก็จะทำอันเล็กๆมาถวาย

คนจีนนั้นนิยมว่า เต่าเป็นสัตว์อายุยืน การทำพิธีต่างๆ จึงนิยมนำเต่ามาเป็นส่วนหนึ่ง ของพิธีด้วย นัยว่าจะทำให้อายุยืนเหมือนเต่านั่นเอง

ความหมาย และความสำคัญของขนมเต่า
ขนมเต่า หรือ อ่างกู้ มาจากภาษาจีน อ่าง หมายถึง แดง ส่วน กู้ หมายถึง เต่า แปลว่า เต่าสีแดง เป็นขนมพื้นเมืองชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมในหมู่คนไทยเชื้อสายจีนทางภาคใต้ ซึ่งไม่มีเนื้อเต่าเจือปนแม้แต่น้อย แต่ขนมเต่า หรืออ่างกู้นี้จะทำจากแป้งข้าวสาลี ผสมกับน้ำตาลทราย ไม่มีไส้มีรสหวานจัด แล้วนำไปปั้นเป็นรูปเต่าขนาดต่างๆ จากนั้นจึงทาด้วยสีแดง ซึ่งมักพบเห็นในประเพณีที่เป็นมงคลต่างๆ ของชาวจีน โดยเฉพาะประเพณีผ้อต่อ (หรือวันสารทจีน เป็นเทศกาลงานบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้บรรพบุรุษ) ถือเป็นประเพณีหนึ่งของชาวไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ภูเก็ต ที่ได้นำขนมเต่ามาเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องบวงสรวง จนกระทั่งกลายเป็นเอกลักษณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้ของงานนี้ เพราะชาวจีนเหล่านี้มีความเชื่อว่า เต่า เป็นสัตว์ที่มีอายุยืน ดังนั้นการทำพิธีต่างๆ จึงนิยมนำเต่ามาเป็นส่วนหนึ่งของพิธีด้วย ซึ่งมีความนัยว่าจะทำให้ตนเอง และสมาชิกในครอบครัวจะมีอายุยืนเหมือนเต่านั่นเอง

ความเป็นมาของขนมเต่า (อ่างกู้)

สำหรับขนมเต่า หรือ อ่างกู้ มีประวัติความเป็นมาจากความเชื่อหนึ่งของชาวจีน โดยเรื่องย่อมีเนื้อความอยู่ว่า เมื่อครั้งที่พระภิกษุชาวจีนมีชื่อว่า อีจิง ได้ออกเดินทางจากประเทศจีนเพื่อไปศึกษาพระพุทธศาสนา ณ แคว้นลังกา ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาในสมัยนั้น เพื่อที่จะกลับมาเผยแพร่ให้กับชาวพุทธในแผ่นดินที่ตนเกิดต่อไป

ในระหว่างการเดินทางครั้งนี้ พระภิกษุรูปนี้ได้แวะพักที่แหลมสุวรรณภูมิ หรือภาคใต้ของประเทศไทยในปัจจุบัน เพื่อรอคลื่นลมที่เหมาะสมในการเดินเรือไปยังแคว้นลังกา อีกทั้งยังได้ใช้เวลาทำการศึกษาภาษาสันสกฤต และวัฒนธรรมต่างๆ ของท้องถิ่นชาวสุวรรณภูมิอีกด้วย


เมื่อเวลาผ่านไปคลื่นลมได้สงบดีแล้ว เหมาะแก่การเดินทางต่อ พระภิกษุรูปนั้น พร้อมกับคณะจึงได้ออกเดินทางโดยเรือ เพื่อที่จะไปยังจุดหมาย ทันใดนั้นก็เกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น เกิดพายุโหมพัดรุนแรงจนทำให้เรือแตก และได้ลอยคออยู่กลางทะเล แต่ด้วยความที่มีใจหมายที่จะไปศึกษาพระธรรม ที่แคว้นลังกาให้ได้ ท่านอีจิงจึงได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า หากตนมีบุญพอที่จะไปเล่าเรียนพระธรรม เพื่อที่จะสืบสานคำสอนของพระพุทธองค์แล้วไซร้ ก็ขอให้รอดพ้นจากความตายในครั้งนี้ด้วย หลังจากนั้นได้มีเต่าตัวใหญ่โผล่ขึ้นมาบนผิวน้ำ แล้วช้อนเอาร่างท่านอีจิงว่ายกลับเข้าสู่ฝั่งอย่างปลอดภัย

หลังจากที่รอดชีวิตมาได้ ท่านอีจิงก็ได้มาถึงที่หมาย ศึกษาพระพุทธศาสนา ณ แคว้นลังกา จนสำเร็จตามที่ได้ตั้งใจเอาไว้ และด้วยความสำนึกในบุญคุณของเต่าใหญ่ที่ได้ช่วยชีวิตท่าน เมื่อครั้นเดินทางไปศึกษาพระธรรม ท่านอีจิงจึงได้ริเริ่มให้มีการทำขนมเต่าสีแดง หรืออ่างกู้ เพื่อเป็นเครื่องเซ่นไหว้ในประเพณีต่างๆ ของชาวไทยเชื้อสายจีน ได้แก่ ประเพณีพ้อต่อ, ประเพณีกินผัก (เจ) เป็นต้น





ขนมเต่า







บี้ถ่ายบาก

บี้ถ่ายบาก หรือลอดช่องสิงคโปร์ เป็นของหวาน มีเส้นสีขาวและแดง ทานกับน้ำเชื่อมใสใส่น้ำแข็ง
ขนมบี้ถ่ายบาก




จี้โจ :

จี้โจ หรือจี่โจ เป็นขนมแป้ง คลุกงาทอด ข้างในมีไส้รสชาติค่อนข้างหวาน มีด้วยกันสามแบบ คือ ไส้ถั่วเหลือง ถั่วลิสง และถั่วดำ



ขนมจี้โจ้



ฮวดโก้ย :


ฮวดโก้ย หรือขนมถ้วยฟู ใช้ในพิธีไหว้เจ้า และไหว้บรรพบุรุษ เพราะเชื่อว่าเป็นขนมที่มีชื่อเป็นมงคล

 
ฮวดโก้ย




2 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

รูปภาพมั่วแล้วเธอ ตู่โบ้จะใส่ฟักทองด้วย แต่รูปนั้นไม่ใช่ นั่นรวมมิตรธรรมดา แล้วก็ บี้ถ่ายบาก ก็เป็นเส้นสีขาวกับชมพู(เป็นหลัก) ไม่กินกับน้ำเชื่อม ไม่ใส่กะทิ แต่ในรูปเป็นลอดช่องเขียวธรรมดา หารูปใส่ให้ถูก ๆ หน่อยเหอะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อุ๊ย พิมพ์ผิด บี้ถ่ายบากนั้น "กินกับน้ำเชื่อ" ไม่ได้ใส่กะทิ แก้คำนะจ๊ะ