วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

ขนมไทยตอน ขนมพื้นเมืองจังหวัดภูเก็ต ตอน 2


เต่เหลี่ยว




ขนมที่ได้รับเกียรติให้เป็นของไหว้อย่างหนึ่งของชาวจีนในภูเก็ต นั่นก็คือ เจ้าขนมหลากสี หลายรส ที่รวมๆ กันแล้วเรียกว่า เต่เหลี่ยว นั่นเอง


     ขนมชื่อจีนที่ว่านี้ ค่อนข้างจะแปลกไปกว่าขนมชนิดอื่นๆ อยู่สักหน่อย ตรงที่ไม่ได้เป็นขนมชิ้นเดียว หรือชนิดเดียว หากแต่เป็นการรวมเอาขนมชิ้นพอดีคำหลายๆ ชนิดมารวมกัน ซึ่งประกอบไปด้วย ขนมถั่วตัด หรือ เต้ายิ้งปัง, ขนมงาตัด หรือ มั่วปัง, ถั่วเคลือบน้ำตาล หรือ ซกซา, ฟักเชื่อม หรือ กวยแฉะ และขนมงาพอง หรือ โหงวจ๊งปัง ซึ่งเมื่อมารวมกันแล้ว จึงเรียกว่า เต่เหลี่ยว


     เต่เหลี่ยวนี้ นับเป็นขนมที่พิเศษตรงที่แม้จะมีลักษณะคล้ายของกินเล่น แต่ก็ยังได้รับเกียรติให้เป็นของไหว้อย่างหนึ่งไม่เคยขาดในประเพณีต่างๆ ของจีน ไม่ว่าจะเป็น ตั้งไหว้หน้าพระในวันพระของจีน คือ วันชุยอิด ขึ้น 1 ค่ำ และวันจับหง่อ ขึ้น 15 ค่ำ ของทุกๆ เดือน หรือตั้งไหว้ในวันสำคัญๆ เช่น วันตรุษจีน ไหว้พระจันทร์ ไหว้เทวดา เป็นต้น โดยเต่เหลี่ยวนี้นับเป็นขนมมงคลอย่างหนึ่งของชาวจีนที่ต้องมีไว้ไม่ได้ขาด เพราะพวกเขาเชื่อว่าเมื่อตั้งไหว้แล้วจะทำให้เกิดสิริมงคลกับตนเองและครอบครัว ทำให้ลูกหลานภายในบ้านมีความรักความสามัคคีเหมือนอย่างเต่เหลี่ยว ที่มีขนมหลายชนิดอยู่รวมกัน


     ว่ากันว่า เจ้าเต่เหลี่ยวนี้ ชาวจีนมณฑลฮกเกี้ยน บรรพบุรุษส่วนใหญ่ของชาวภูเก็ต เป็นผู้นำเข้ามาพร้อมๆ กับวัฒนธรรมจีนแบบต่างๆ โดยก่อนหน้านี้ ชาวจีนเขานิยมกินเต่เหลี่ยวเป็นของว่างคู่กับน้ำชา โดยเฉพาะในโอกาสพิเศษต่างๆ เช่นตรุษจีน เพราะเต่ เป็นภาษาจีนฮกเกี้ยน แปลว่า น้ำชา ส่วน เหลี่ยว แปลว่า ของแกล้ม ของกินเล่น เพราะฉะนั้น เต่เหลี่ยว จึงหมายถึงขนมที่ใช้กินเล่นคู่กับน้ำชา เปรียบเหมือนสมัยนี้ที่คนนิยมกินเค้ก กินเบเกอรี่ คู่กับกาแฟนั่นเอง แต่เมื่อเต่เหลี่ยวเดินทางเข้ามาในภูเก็ต เจ้าขนมหลากสีสันชนิดนี้ก็ได้เปลี่ยนฐานะไปเป็นของไหว้อย่างหนึ่งที่สำคัญของคนจีน และยังคงอยู่คู่กับหน้าพระ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คนจีนเคารพนับถือตลอดมาจนถึงปัจจุบันนี้


     และแม้ว่าจะยกฐานะเป็นของไหว้แล้ว แต่เมื่อยกลงมาจากหน้าพระ เต่เหลี่ยวก็ยังเป็นขนมชิ้นเล็กๆ ที่ยังน่ากิน และเรียกความสนใจจากหลายคนได้เสมอ โดยเฉพาะคนที่นิยมกินขนมหรือผลไม้ที่ผ่านการไหว้พระมาแล้ว เพราะถือว่าจะทำให้โชคดี เหมือนที่คนจีนภูเก็ตชอบพูดว่า “ขอให้โป้ปี่ เป้งอ้านๆ” หรือแปลว่า กินแล้วก็ขอให้โชคดี ขอให้ชีวิตมีแต่สิ่งดีงาม… แต่น่าเสียดายที่ลูกหลานชาวจีนรุ่นหลัง ไม่ค่อยจะรู้จักทั้งหน้าตา และชื่อของขนมชนิดนี้กันสักเท่าไรนัก




ขนมป่าวหล้าง




     
เกียดหล่องเตี่ยว


บางคนเรียกเก็ตห่องเตี๋ยว เกียดหล่องเตี่ยว ตามแต่จะออกเสียงแตกต่างกันไป แต่ก็หมายถึงขนมทำจากแป้งสีขาวยาวเรียวเช่นเดียวกัน เก็ตหล่องเตี๋ยวบางคนเรียกไข่คนถ้าว (ไม่แปลให้ไปหาความหมายกันเอาเอง) ด้วยลักษณะที่นวน (อ่อน) ยอบแยบไข่คนถ้าว หรือว่าเก็ตหล่องเตี๋ยวนี้ มีส่วนผสมคือ แป้งขนมโก๋ (ใช้แป้งสาลีตราว่าว ผสมแป้งมันตรากุหลาบ) น้ำตาลปี๊บ น้ำนมแมว น้ำ น้ำตาลแบะแซ




ขนมหน้าแตก


ขนมหน้าแตก


ขนมสี่ขา : ขนมสี่ขา หรือเบเฮ่จี่ ลักษณะคล้ายปาท่องโก๋หรือเจียะโก้ย แต่ปิดตัวแป้งให้เป็นเกลียวมีลักษณะเป็นสี่ขา โดยที่ตัวแป้ง มีเกร็ดน้ำตาล เมื่อรับประทานจะมีรสหวานอร่อย


ผ้างเปี้ย : ทำด้วยแป้งนำไปอบ ลักษณะเป็นรูปกลมๆ ข้างในกลวง และทาน้ำตาลไว้บางๆ

หม่อหล้าว : หม่อหล้าว หรือขนมงาพอง เป็นขนมท่อนยาวทรงกระบอกข้างในกรวง ข้างนอกกรอบโรยงาไว้ รสชาติหวาน

บั้นเจียนโก้ย : บั้นเจียนโก้ย มีลักษณะคล้ายขนมถังแตก ตัวขนมเหมือนฟองน้ำ มีรสชาติหวาน นิยมทานกับกาแฟในตอนเช้า


บะจ่าง : บะจ่างเป็นข้าวเหนียว ที่นำไปผัดกับซีอิ้ว แล้วนำมาห่อ ด้วยใบจ่าง(ใบจากตากแห้ง) โดยยัดไส้หมู กุ้งแห้ง และไข่ ไว้ข้างใน


กี่จ่าง : กี่จ่าง หรือขนมจ้าง ทำจากข้าวเหนียวแช่น้ำด่างห่อใบไผ่นึ่ง รสชาติหวานนิดๆ รับประทานกับน้ำตาลทราย

เปาล้าง : เปาล้างคือข้าวเหนียวปิ้งไส้มะพร้าว ผสมกับกุ้ง พริกไทยและหัวเปราะ คาดว่าเป็นขนมที่ได้รับอิทธิพล มาจากมาเลย์ เพราะที่มาเลเซีย ก็มีขนม ชนิดนี้เหมือนกัน

ไม่มีความคิดเห็น: