วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

ขนมไทย ตอน ขนมในพิธีกรรมและงานเทศกาล








ขนมในพิธีกรรมและงานเทศกาลขนมไทยมีส่วนร่วมในวิถีชีวิตไทยในทุกเทศกาลและโอกาสต่างๆแสดงให้เห็นถึงความผูกพันและเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมไทยตั้งแต่สมัยโบราณขนมที่ใช้ในงานเทศกาลและพิธีกรรมต่างๆของไทยตลอดทั้งปีสรุปได้ดังนี้

ขนมไทยในงานเทศกาล
งานตรุษสงกรานต์ที่พระประแดง และราชบุรี ใช้กะละแมเป็นขนมประงานตรุษ สารทไทย เดือน 10 ทุกภาคยกเว้นภาคใต้ ใช้กระยาสารทเป็นขนมหลัก นอกจากนั้น อาจมี ข้าวยาคูข้าวมธุปายาส ข้าวทิพย์ ส่วนทางภาคใต้ จะมี ขนมสารทเดือนสิบ โดยใช้ขนมลา ขนมพองขนมท่อนใต้ ขนมบ้า ขนมเจาะหูหรือขนมดีซำ ขนมต้ม (ข้าวเหนียวใส่กะทิห่อใบกะพ้อต้มต่างจากขนมต้มของภาคกลาง) ยาสาด (กระยาสารท) ยาหนม(กะละแม)โดยขนมแต่ละชนิดที่ใช้มีความหมายคือ ขนมพอง เป็นแพพาข้ามห้วงมหรรณพขนมกงหรือขนมไข่ปลา เป็นเครื่องประดับ ขนมดีซำเป็นเงินเบี้ยสำหรับใช้สอย ขนมบ้าใช้เป็นลูกสะบ้า ขนมลาเป็นเสื้อผ้าแพรพรรณ เทศกาลออกพรรษา การตักบาตรเทโว เดือน 11 นิยมทำข้าวต้มผัดห่อด้วยใบตองหรือใบอ้อย ธรรมเนียมนี้มาจากความเชื่อทางศาสนาที่ว่าเมื่อประชาชนไปรอรับเสด็จพระพุทธเจ้าเมื่อทรงพุทธดำเนินจากเทวโลกกลับสู่โลกมนุษย์ ณเมืองสังกัสสะ ชาวเมืองที่ไปรอรับเสด็จได้นำข้าวต้มผัดไปเป็นเสบียงระหว่างรอบางท้องที่มีการทำข้าวต้มลูกโยนใส่บาตรด้วยเช่น ชาวไทยเชื้อสายมอญที่จังหวัดราชบุรีในช่วงออกพรรษา ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชมีประเพณีลากพระและตักบาตรหน้าล้อซึ่งจะใช้ขนมสองชนิดคือ ห่อต้ม (ข้าวเหนียวผัดกะทิห่อเป็นรูปสามเหลี่ยมด้วยใบพ้อ)และห่อมัด(เหมือนห่อต้มแต่ห่อด้วยใบจากหรือใบมะพร้าวอ่อนเป็นรูปสี่เหลี่ยมใช้เชือกมัด)ในช่วงถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ชาวไทยมุสลิมนิยมรับประทานขนมอาเก๊าะ เดือนอ้ายมีพระราชพิธีเลี้ยงขนมเบื้อง เมื่อพระอาทิตย์โคจรเข้าราศีธนู นิมนต์พระสงฆ์ 80 รูปมาฉันขนมเบื้องในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยเดือนอ้ายในจังหวัดนครศรีธรรมราชมีประเพณีให้ทานไฟโดยชาวบ้านจะก่อไฟและเชิญพระสงฆ์มาผิงไฟ ขนมที่ใช้ในงานนี้มี ขนมเบื้อง ขนมครกขนมกรอก ขนมจูจุน กล้วยแขก ข้าวเหนียวกวน ขนมกรุบ ข้าวเกรียบปากหม้อ ) เดือนสามทางภาคอีสานมีประเพณีบุญข้าวจี่ ซึ่งจะทำข้าวจี่ไปทำบุญที่วัดชาวไทยมุสลิมมีประเพณีกวนขนมอาซูรอในวันที่ 10 ของเดือนมูฮรอม











งานตรุษสงกรานต์ เป็นงานบุญปีใหม่ของไทย ซึ่งเริ่มจากวันที่ 12 เดือน 5 เป็นต้นไป  ขนมในประเพณีนี้ก็คือ การีกวนข้าวเหนียวแดง และกะละแม บนกระทะเหล็กใบใหญ่


                งานถวายฉลากภัต ในเดือน 7ขนมที่ทำคือข้าวเหนียวสังขยา ข้าวเกรียบว่าว นางเล็ด ข้าวเหนียวแดง ชาวบ้านจะร่วมทำบุญพบปะกันที่วัด ส่วนฉลากภัตก็คือขนมและอาหารที่ชาวบ้านนำไปถวายพระ
                เทศการสารทไทย ในเดือน 10 คือการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว ขนมที่ทำเป็นประเพณีนี้คือ กระยาสารท ซึ่งเริ่มทำขนมกันในช่วงแรม 15 ค่ำ คือ ตำข้าวเม่า คั่วข้าวตอก คั่วถั่ว คั่วงา เตรียมเพื่อทำขนมต่อไป และนำไปทำบุญที่วัด ส่วนหนึ่งก็แจกเพื่อนบ้าน


บุญเดือนสิบของภาคใต้ เป็นประเพณีเอิกเกริกมาก เพราะเป็นวันที่ลูกหลานจะต้องกับมาร่วมกันทำบุญกับญาติพี่น้องอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติ ที่ล่วงลับไปแล้ว มีพิธีการชิงเปรต ขนมในงานบุญนี้คือ ขนมข้าวต้มห่อใบกะพ้อ ขนมบ้า ขนมลา ขนมพอง ขนมดีซำ ขนมไข่ปลา ขนมแดง ขนมโค ขนมตอก ขนมเจาะหู
                งานบุญข้าวสาก เป็นงานของชาวอีสาน ก็เป็นงานกลางเดือนสิบ ชาวบ้านจัดอาหารคาวหวานหอในใบตอง มัดด้วยตอกหรือเชือก นำไปทำบุญถวายพระสงฆ์


                งานบุญออกพรรษา เดือน 11มีการตักบาตรเทโว ขนมในประเพณีงานบุญนี้คือ ข้าวต้มผัดห่อไปตองมัดด้วยตอก บางครั้งจึงเรียกว่า ข้าวต้มมัด มีหางไว้สำหรับโยน เรียกว่า ข้าวต้มลูกโยน
                เทศกาลเทศน์มหาชาติ จะมีการทำขนมแห้งๆ เช่น ข้าวพอง ขนมนางเล็ด หรือขนมอีแต๋น มาติดกันเทศน์ตามธรรมเนียมโบราณ เดือน12มีธรรมเนียมทางศาสนาคือ การกวนข้าวมธุปายาส หรือข้าวทิพย์
               ขนมเลี้ยงพระ อาหารหวานเป็นขนมที่นิยมเลี้ยงพระคือ ขนมตระกูลทองทั้งหลาย ขนมชั้น ขนมเทียน ขนมถ้วยฟู ขนมปุ้ยฝ้าย เป็นต้น


               ขนมฉลองยศ หรือขนมที่มอบให้ในโอกาสพิเศษต่างๆ จะเลือกแต่ขนมที่มีชื่ออันเป็นมงคลทั้งสิ้น ได้แก่
               ขนมชั้น ต้อง 9ชั้นจึงจะเป็นสิริมงคลอย่างสูง เพราะหมายถึงกว่าก้าวหน้ายิ่งยิ่งขึ้นไป
              ขนมทองทั้งหลาย มีชื่อเป็นทอง หมายถึงสัญลักษณ์แห่งความร่ำรวย
              ขนมจ่ามงกุฎ มีความหมายคือ แสดงถึงเกียรติยศและฐานะที่สูงส่ง
             ขนมฝักบัว ลักษณะของขนมจะพองฟูตรงกลาง มีความหมายถึงการเกื้อหนุน เสริมส่งให้สูงส่งขึ้น
              ขนมเทียน หรือขนมนมสาว หมายถึงแสงสว่างส่องนำทาง




ขนมในพิธีสู่ขอ เป็นขนมต้ม ซึ่งจะใส่มาพร้อมกับใบเงินใบทอง
ขนมในพิธีแห่ขันหมาก นิยมใช้ขนม 9 ชนิดคือ ขนมสอดไส้ ขนมหน้านวล ขนมเล็บมือนาง ขนมละมุด ขนมพระพาย ขนมทอง ขนมบ้าบิ่น ขนมทองพลุ ขนมชะมด แต่ไม่ได้ใช้ตายตัวเสียทีเดียว ขึ้นอยู่กับท้องถิ่นนั้นๆด้วย
ขนมในพิธีแต่งงาน ได้แก่ขนมกง ขนมหันตรา ขนมสามเกลอ ขนมโพรงแสม ขนมชะมด ขนมพระพาย ขนมรังนก ขนมสอดไส้ ขนมนมสาว ขนมฝักบัว ขนมทอง ขนมละมุด เป็นต้น


ขนมขึ้นบ้านใหม่ การขึ้นบ้านใหม่ขนมในประเพณีนี้คือ ขนมต้มแดง ขนมต้มขาวขนมคนหลวง ขนมหูช้าง ซึ่งขนมเหล่านี้ใช้ในพิธีบวงสรวงบูชาสิ่งศักสิทธิมาจาก พราหมณ์






ขนมไทยในพิธีกรรมและความเชื่อ
การสะเดาะเคราะห์และแก้บนของศิลปินวายัง-มะโย่งของชาวไทยมุสลิมทางภาคใต้ใช้ข้าวเหนียวสามสี (ขาว เหลือง แดง) ข้าวพอง (ฆีแน) ข้าวตอก (มือเตะ)รา (กาหงะ)และขนมเจาะหู ในพิธีเข้าสุหนัต< ขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน นำเรือใหม่ลงน้ำชาวไทยมุสลิมนิยมทำขนมฆานม ขนมที่ใช้ในงานแต่งงานในภาคกลางนอกกรุงเทพฯออกไปจะมีขนมกงเป็นหลัก นอกจากนั้นมีทองเอก ขนมชะมด ขนมสามเกลอขนมโพรงแสม ขนมรังนก บางแห่งใช่ขนมพระพายและขนมละมุดก็มี ในบางท้องถิ่น ใช้ กะละแมข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวแก้ว ขนมชั้น ขนมเปียก ขนมเปี๊ยะ ถ้าเป็นตอนเช้ายังไม่ถึงเวลาอาหาร จะมีการเลี้ยงของว่างเรียก กินสามถ้วย ได้แก่ ข้าวเหนียวน้ำกะทิข้าวตอกนำกะทิ ลอดช่องน้ำกะทิ บางแห่งใช้ มันน้ำกะทิ เม็ดแมงลักน้ำกะทิบางท้องถิ่นใช้ขนมต้มด้วย พิธีแต่งงานของชาวไทยมุสลิมจะมีพิธีกินสมางัตซึ่งเป็นการป้อนข้าวและขนมให้เจ้าบ่าวเจ้าสาว ขนมที่ใช้มีกะละแมหรือขนมดอดอย ขนมก้อหรือตูปงปูตู ขนมลาและข้าวพองขนมที่ใช้ในงานบวชและงานทอดกฐินของชาวไทยเชื้อสายมอญในจังหวัดราชบุรีได้แก่ขนมปลาหางดอก และลอดช่องน้ำกะทิ ในงานศพชาวไทยเชื้อสายมอญในจังหวัดราชบุรีนิยมเลี้ยงเม็ดแมงลักน้ำกะทิการบูชาเทวดาในพิธีกรรมใดๆ เช่น ยกเสาเอก ตั้งศาลพระภูมิใช้ขนมต้มแดง ขนมต้มขาวเป็นหลักในเครื่องสังเวยชุดธรรมดา ชุดใหญ่เพิ่ม ข้าวตอก งาคั่ว ถั่วทองฟักทองแกงบวด ในพิธีทำขวัญจุกใช้ขนมต้มขาวต้มแดงด้วยเช่นกันเครื่องกระยาบวชในการไหว้ครูเพื่อทำผงอิทธิเจ ใช้ขนมต้มแดงต้มขาวเช่นกันพิธีเลี้ยงผีของชาวไทยเชื้อสายมอญในจังหวัดราชบุรีใช้ ขนมบัวลอย ขนมทอดขนมที่ใช้ในพิธีไหว้ครูมวยไทยและกระบี่กระบอง ได้แก่ แกงบวด (กล้วย เผือกหรือมัน)เผือกต้ม มันต้ม ขนมต้มแดงต้มขาว ขนมชั้น ถ้วยฟู ฝอยทอง  เม็ดขนุน ทองหยอดในการเล่นผีหิ้งของชาวชอง บนหิ้งมีขนมต้ม ขนมเทียนเป็นเครื่องเซ่นด้วย

ไม่มีความคิดเห็น: