วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ตำนานชา ตอน

ทุกวันนี้ ชาเป็นเครื่องดื่มที่นิยมดื่มกันมากในสหราชอาณาจักร คนอังกฤษดื่มชากันมากกว่า 14 ล้านลิตรต่อปี ซึ่งก็ประมาณ 4 ถ้วยต่อวัน ประเทศที่ส่งออกชามากที่สุดในโลกคืออินเดียและศรีลังกา และมากกว่าครึ่งหนึ่งของชาที่ส่งออกถูกดื่มโดยประเทศที่อยู่ในสหราชอาณาจักร

ชาวอังกฤษไม่ใช่ชาติแรกที่ดื่มชา หากแต่จะเป็นชาวจีนที่ได้ดื่มเครื่องดื่มชนิดนี้ ซึ่งพวกเขาเรียกว่า "ฉ่า" หรือ "เต๊" มาก่อนอย่างน้อย 4000 ปีก่อนที่ชาจะถูกส่งเข้าลอนดอนเป็นครั้งแรกในทศวรรษที่ 1630 ชาได้ถูกดื่มเป็นครั้งแรกโดยจักรพรรดิ์ เฉิน หนาง ของจีน ในปี 2737 ก่อน ค.ศ. จักรพรรดิ์ได้ออกเดินทาง และได้หยุดพักในบริเวณพุ่มไม้ ในขณะที่กำลังต้มน้ำไว้สำหรับดื่มอยู่นั้น ใบไม้ซึ่งต่อมานักพฤษศาสตร์เรียกมันว่า Cameillia sinesis หรือใบชา ก็ได้ปลิวตกลงไปในหม้อต้มน้ำขององค์จักรพรรดิ์ เมื่อจักรพรรดิ์ได้ดื่มน้ำ ก็ทรงพอพระทัยเป็นอย่างมาก และชาก็เป็นที่รู้จักตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวอังกฤษยังคงใช้คำแสลงในการพูดว่า "ชา" สำหรับชา ซึ่งมีการออกเสียงคล้ายคลึงกับภาษาจีนว่า "ฉ่า"

ชาวอังกฤษก็ยังไม่ใช่ชาติแรกในยุโรปที่เริ่มดื่มชา ชาวโปรตุเกสเป็นชาติแรกของยุโรปที่เดินเรือไปถึงประเทศจีนเมื่อปี ค.ศ.1513 ได้สังเกตว่าชาวจีนดื่มเครื่องดื่มชนิดหนึ่งที่มีกลิ่นแปลกๆ, ร้อน และมีสีน้ำตาล ซึ่งถือเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ในตอนแรกชาวจีนปฏิเสธที่จะขาย "ฉ่า" หรือ "เต๊" ให้กับชาวโปรตุเกส แต่ในที่สุด ชาวโปรตุเกสก็ได้รับอนุญาตในตั้งสถานีการค้าบริเวณชายฝั่งของประเทศจีน (มาเก๊า) ซึ่งได้เริ่มส่งชาและสินค้าอื่นๆ ของจีนกลับประเทศโปรตุเกส

ชาวอังกฤษคนแรกที่เดินทางมาถึงประเทศจีนคือ กัปตัน เวดเดล ซึ่งเดินเรือมาถึงท่าเรือที่มาเก๊า ในปี ค.ศ.1637 ต้องการที่จะเข้ามาทำการค้ากับประเทศจีน แต่เขากลับไม่เป็นที่ต้อนรับของชาวโปรตุเกสและชาวจีนนัก และการต่อสู้ก็ได้เริ่มขึ้น โดยอังกฤษมีเรือรบและปืนที่ทรงอนุภาพมากกว่า และในที่สุด กัปตัน เวดเดล ก็ได้รับอนุญาตในทำการค้าขายและเดินเรือกลับไปยังลอนดอนพร้อมกับสินค้าจำนวนมาก รวมไปถึงสิ่งที่เรียกว่า ชา ด้วย ซึ่งมันก็คือน้ำเปล่าที่มีสมุนไพรชนิดหนึ่งต้มอยู่ด้วย

หลายปีต่อมา น้ำที่มีสมุนไพรต้มอยู่ด้วยนี้ ยังไม่ได้ขายในสหราชอาณาจักร จนกระทั่งปี ค.ศ.1662 กษัตริย์อังกฤษคือ พระเจ้าชาลที่ 2 ได้แต่งงานกับเจ้าหญิงโปรตุเกสคือ แคทเธอลีน แห่งบากันซา ผู้ซึ่งนำความโชคดีมาสู่ลอนดอน ธุรกิจการขายชาเริ่มเกิดขึ้น ทำให้การดื่มชากลายเป็นสิ่งที่นิยมกันในลอนดอนและในที่สุดก็ขยายไปทั่วทั้งเกาะอังกฤษ

มีเพียงบริษัทเดียวเท่านั้น คือบริษัท ลอนดอน อีส อินเดีย จำกัด ที่ได้รับอนญาตจากรัฐบาลอังกฤษในการนำเข้าชาจากประเทศจีน และหลายปีต่อมา ชาก็มีราคาสูงขึ้นอย่างมาก ในปี ค.ศ.1664 มีราคาถึง 95 ชิลลิ่งต่อกิโลกรัม ในตอนนั้นเงินจำนวนนี้สามารถซื้ออาหารชั้นดีและไวน์ได้อีกขวด เฉพาะพวกคนที่มีฐานะเท่านั้นที่จะสามารถซื้อชาได้ และต้องระมัดระวังไม่ให้ดื่มมากจนเกินไป ดั่งของมีค่า ชาได้ถูกเก็บไว้อย่างดีในกล่องโลหะ เนื่องจากชาได้รับการคิดภาษีที่สูงมากโดยรัฐบาลอังกฤษ ทางเดียวที่คนจนจะสามารถดื่นชาได้ก็คือการลอบนำชาเข้าประเทศ และในไม่ช้า การนำเข้าชาที่ผิดกฎหมายก็กลายเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้กับอังกฤษ

ด้วยการนำเข้ามาอย่างผูกขาดของบริษัท อีส อินเดีย จำกัด กลายมาเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีความสำคัญและรวยที่สุดในโลกในปี ค.ศ.1772 อย่างไรก็ตาม บริษัทก็แทบจะล้มละลายเนื่องจากชามีราคาสูงมากเกินกว่าคนทั่วไปจะซื้อได้ ทำให้มีชาที่เหลือเก็บเป็นจำนวนมาก ทางรัฐบาลจึงอนุญาตให้ทำการส่งชาออกโดยปลอดภาษีไปยังประเทศอาณานิคมของอังกฤษในอเมริกาเหนือ โดยหารู้ไม่ว่าเป็นการวางแผนที่ผิดพลาดอย่างยิ่ง ชาวอเมริกันมีความโกรธแค้นต่อรัฐบาลอังกฤษมาก เพราะปรับสินค้าของอเมริกันให้มีการเก็บภาษีที่สูงขึ้น และการที่บริษัทของอังกฤษทำการขายชาที่ปลอดภาษีอย่างผูกขาดในอเมริกานั้น ทำให้ธุรกิจการค้าขายของอเมริกันต้องปิดกิจการไปเป็นจำนวนมาก

ความรู้สึกการต่อต้านอังกฤษทวีความรุนแรงมากขึ้นในอเมริกาซึ่งเป็นอาณานิคมอังกฤษ และเมื่อเรืออังกฤษ 3 ลำ ที่บรรทุกชาเข้าเทียบท่าเรือที่บอสตันในปี ค.ศ.1773 ฝูงชนชาวอเมริกันผู้โกรธแค้นก็ตัดสินใจใช้กำลังบุกเข้าไปในเรือบรรทุกชาแล้วนำชาทั้งหมดทิ้งลงทะเล (The Boston 'Tea Party' -- งานเลี้ยงน้ำชาที่บอสตัน) รัฐบาลอังกฤษตอบสนองโดยการส่งกำลังทหารเข้าไปในบอสตัน เกิดการต่อสู้ที่รุนแรง สงครามประกาศอิสรภาพก็ได้เริ่มต้นขึ้น ในที่สุดสงครามก็นำไปสู่ชัยชนะของฝ่ายอเมริกัน และได้ก่อตั้งเป็นประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้นในเวลาต่อมา

วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ตำนานชา ตอน รูปแบบการบรรจุใบชาที่ขายในท้องตลาด

 รูปแบบการบรรจุใบชาที่ขายในท้องตลาด


 1.ใบชาผงในภาชนะปิดสนิท (Loose Tea)




 เป็นใบชาแห้งที่บรรจุใน กระป๋องหรือภาชนะปิดสนิท   ซึ่งผู้ชงสามารถตวงปริมาณใบชาแห้งเองได้ตามต้องการ  ในการชงจะต้องมีอุปกรณ์ช่วยในการกรองกากชาออกด้วย

 
   2.ใบชาแห้งอัด (Compressed Tea)



   เป็น ใบชาแห้งที่อัดแน่นเพื่อสะดวกในการเก็บรักษา โดยเฉพาะชาชนิดผู่เอ๋อ (Pu-Erh) จะถูกอัดเป็นก้อน เวลาจะนำใบชามาชงให้ใช้ปลายมีดเขี่ยใบชาออกมาในปริมาณที่ต้องการ  ใบชาแห้งอัดนี้สามารถเก็บไว้ได้นานกว่าใบชาแห้งธรรมดา   เนื่องจากมีส่วนที่สามารถสัมผัสกับอากาศน้อยกว่า

3. ชาแท่งหรือชาแผ่น (Tea Sticks)

       เป็น การบรรจุใบชาสำหรับการบริโภคในรูปแบบใหม่ แท่งชานี้กำเนิดในประเทศฮอลแลนด์ช่วงปี ค.ศ. 1990  โดยบริษัท Venezia Trading  ได้ผลิตแท่งชาที่เรียกว่า “Ticolino”   ซึ่งเป็นแท่งบรรจุชาสำหรับ 1 แท่ง  ภายในบรรจุใบชาหรือใบชาผสมสมุนไพรหรือกลิ่นรสตามต้องการ วิธีใช้คือใส่แท่งชาลงในแก้ว เทน้ำร้อนลงไป  แช่ไว้นาน 90  วินาทีเพื่อสกัดกลิ่นรสของใบชาที่อยู่ภายในออกมา จากนั้นก็คนเล็กน้อย แล้วดึงแท่งชาออก


4. ชาสำเร็จรูป (Instant Tea)

            เป็น ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นผงหรือเกล็ดละลายน้ำ  โดยการทำการสกัดสารในใบชาออกมาเป็นชาเข้มข้น   น้ำชาเข้มข้นถูกทำให้แห้งเป็นของแข็งโดยการฉีดพ่นสารละลายชาเข้มข้นผ่านอากาศร้อน หรือความเย็น ระเหยน้ำออกไปภายใต้สุญญากาศ เมื่อจะดื่มนำมาชงสามารถละลายน้ำได้ทันที    สะดวกต่อการบริโภค  การผลิตชาสำเร็จรูปสามารถใช้เครื่องจักรกลในการเก็บเกี่ยวมากขึ้น สามารถขนส่งไปยังประเทศผู้บริโภค ได้สะดวก  ช่วยลดต้นทุนการขนส่ง เช่น ชาผงสำเร็จรูปเนสที เป็นต้น

5.ชาถุง (Tea Bags)







                                ถุงชา
จากบริษัทของเยอรมันที่ต้องการส่วนแบ่งทางการตลาดจากงานครั้งนี้ด้วยถุงชาเคทและวิลที่เกาะบนขอบถ้วย ซึ่งมีชื่อว่า 'KaTea' ภายในบรรจุด้วยชาดำเยอรมันและบัตรอวยพร

 

เป็น ใบชาที่บรรจุถุงกระดาษหรือถุงผ้าไหมขนาดเล็ก   ข้อดีของชาถุงคือ ง่ายและสะดวกต่อการชง  แต่มีข้อด้อยคือ อากาศสามารถผ่านเข้าออกได้   ใบชาแห้งซึ่งสัมผัสกับอากาศจะสูญเสียกลิ่นรสได้ง่ายและรวดเร็ว   นอกจากนี้ใบชาที่นำมาบรรจุด้วยวิธีการนี้ส่วนใหญ่จะเป็นชาเกรดต่ำ อย่างไรก็ตาม   ผู้ผลิตบางรายก็สร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ชาถุงด้วยการบรรจุใบชาเต็ม ใบชั้นดีลงในถุงชา ทั้งนี้ผู้บริโภคสามารถสังเกตได้จากราคาที่มีความแตกต่างกันค่อนข้างมา

 6.ชาพร้อมดื่ม (Ready-to-Drink Teas)

                               
 เป็น การผลิตน้ำชาบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำชาธรรมดา น้ำชาที่เติมกลิ่นและสี เช่น  กลิ่นรสมะนาว รสเบอรี่ พีช เป็นต้น   บางครั้งเติมน้ำตาลบรรจุในกระป๋องหรือขวด ทำให้สะดวกต่อการบริโภคและการขาย น้ำชาประเภทนี้เป็นที่นิยมของวัยรุ่น   โดยเฉพาะประเทศที่มีอากาศร้อน และนิยมดื่มชาเย็น

ตำนานชา ตอน ประเภทของชา

ชา มี 2 สายพันธุ์ ได้แก่

1. ชาอัสสัม (Camellia sinensis vav. Assamica)
เป็นไม้ยืนต้นสูง 6-18 เมตร ใบเป็นรูปรี กว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 8-20 เซนติเมตร ผิวใบเป็นคลื่นและเป็นมันลื่น ปลายใบเรียวแหลม ต้นชาชนิดนี้โตเร็วกว่าต้นชาจีน ด้วยมีใบขนาดใหญ่กว่าและมีรสชาติเข้มข้น

2. ชาจีน (Camelli sinensis vav. Sinensis)
เป็นไม้พุ่มเตี้ย ใบของชาจีนมีขนาดเล็กและแคบกว่าใบของชาอัสสัม กว้าง 2-4 เซนติเมตร เนื้อใบด้าน ปลายใบแหลม ชาชนิดนี้ทนต่อความหนาวเย็นและเติบโตอย่างช้า ๆ ออกใบดกและมีกลิ่นหอมมาก


ประเภทชองชา มีดังนี้

ชาเขียว
ชาไม่หมัก ชาเขียว เป็นชาที่ไม่มีขั้นตอนการหมักใบชาสดระหว่างกระบวนการผลิต โดยนำยอดชาสดมาทำให้แห้ง ใช้วิธีให้ความร้อนหยุดยั้งการสลายตัวของยอดชา หรือปฏิกิริยาของเอ็นไซม์ ในการย่อยสลายตัวเอง หรือเรียกว่าการหมัก ชาประเภทนี้เป็นชาที่นิยมดื่มกันมากในประเทศจีนและญี่ปุ่น รสอ่อน สีน้ำชาเป็นสีเขียว หรือเหลืองอมเขียว กากชามีสีเขียวค่อนข้างสดชาเขียวรู้จักกันแพร่หลาย เช่น ชาหลงจิ่ง หวง ซันเหมา ฟง ผู โถ ฉา ชุนหมี่ ชาญี่ปุ่น เป็นต้น ชาเขียวสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ชาเขียวอบไอน้ำและชาเขียวคั่ว


     1.1 ชาเขียวอบไอน้ำ เป็นการแปรรูปชา หยุดกระบวนการทางเคมีในใบชา ด้วยการอบไอน้ำ ในช่วงเวลาสั้น ๆ คือเมื่อเก็บยอดชานำมานึ่งด้วยไออุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 0.7 นาที เพื่อหยุดกิจกรรมของเอนไซม์ โพลิฟีน อัลออกซิเดส เสร็จแล้วนำไปนวดอบไอร้อนเพื่อลดปริมาณความชื้นในใบลง ต่อจากนั้นนำมานวดในห้องอุณหภูมิปกติเพื่อทำให้เซลล์แตก และนวดด้วยความร้อนอีก เพื่อทำให้ใบชาม้วนตัวสวยงาม แล้วนำไปอบแห้งให้ความชื้นในใบชาลดเหลือ 4 % ชาเขียวอบไอน้ำส่วนใหญ่ มีการแปรรูปในประเทศญี่ปุ่น สีของน้ำชาประเภทนี้จะมีสีเขียวถึงเขียวอมเหลือง เนื่องจากยังมีครอโรฟิลอยู่



     1.2 ชาเขียวคั่ว เป็นชาที่หยุดกระบวนการทางเคมีในยอดชาด้วยการคั่วด้วยกระทะร้อน ที่อุณหภูมิสูงประมาณ 300-350 องศาเซลเซียส แล้วนำไปนวดให้เซลแตกและม้วนตัว และอบแห้ง ชาเขียวคั่วสามารถแยกได้เป็น 2 แบบ คือ ชาเขียวคั่วหมักอ่อน และชาเขียวที่ไม่มีการหมัก สีน้ำชามีสีเขียวอ่อนอมเหลือง ส่วนใหญ่มีการแปรรูปในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ไต้หวัน และเกาะทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น




ชากึ่งหมัก / ชาอู่หลง



เป็นชาที่มีการหมักใบชาสดในระหว่างการผลิตเพียงบางส่วน โดยเพิ่มการนำยอดชามาผึ่งแดด 20-40 ทำให้อุณหภูมิในยอดชาสูงขึ้น เกิดกลิ่นหอม แล้วนำไปผึ่งในร่มอีกครั้งพร้อมเขย่ากระตุ้นยอดชาให้ตื่นตัว เร่งการหมัก ทำให้สีน้ำมีสีเข้มขึ้น ความแก่อ่อนของการหมักขึ้นกับระยะเวลาการผึ่งและเขย่ากระตุ้น ชนิดชาที่รู้จักกันดีที่สุดคือ ชาอูหลง ชาประเภทนี้รสชาติน้ำชาเข้มข้นและมีกลิ่นหอม น้ำชามีสีเหลืองอมเขียว น้ำตาลอมเขียว น้ำตาลอมเหลือง น้ำตาลส้ม ขึ้นอยู่กับวิธีการผลิต กากชาที่มีสีเขียวอมเหลืองนิยมดื่มกันมากในประเทศจีนตอนกลาง แถบมณฑลฝูเจี๋ยน กวางตุ้ง ไต้หวัน เมื่อดื่มชาชนิดนี้จะให้รสฝาด และขมเล็กน้อย ชุ่มคอ

ชากึ่งหมัก เป็นชาประเภทที่ผู้ดื่มชาจีนในประเทศไทยส่วนใหญ่รู้จักดี ชาที่ดื่มจะเป็นชาหมักปานกลาง ค่อนข้างแก่ถึงหมักแก่ ชามีกลิ่นหอม รสฝาดชุ่มคอ ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากประเทศจีนแถบมณฑลกวางตุ้ง มณฑลฝูเจี๋ยน ต่อมามีการผลิตชาอูหลงแถบดอยแม่สลอง ดอยวาวี โดยนำเทคโนโลยีการผลิตจากไต้หวัน จึงได้ชาอูหลงที่มีคุณภาพดี กลิ่นหอม รสชาติชุ่มคอ ทำให้ชาอูหลงเป็นที่รู้จักและนิยมดื่มมากขึ้น





ชาหมักหรือชาดำ
เป็นชาที่นิยมดื่มกันทั่วโลก โดยเฉพาะแถบยุโรปหรือพวกฝรั่ง คนไทยจึงเรียกว่าชาฝรั่ง บางคนเรียกชาผง เพราะส่วนใหญ่จะเห็นมีลักษณะเป็นผง บางครั้งเรียกชาดำ ตามลักษณะสีใบชาแห้ง แต่ชาวจีนเรียกชาแดง ตามลักษณะสีน้ำชาเป็นสีส้ม หรือน้ำตาลแดง ชาฝรั่งสันนิษฐานว่ามาจากชาหมักชื่อ เจียน ซี หวู ของชนเผ่าฉี อาศัยอยู่แถบภูเขา หวู่ ยิ เมื่อมีการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับพ่อค้าจากมณฑลกวางตุ้งชาถูกเปลี่ยนชื่อเป็นโบเฮีย และถูกส่งจากมณฑลกวางตุ้งไปประเทศอังกฤษในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 การผลิตชาฝรั่ง จะให้สีและรสชาติเข้มข้นที่สุด น้ำชาเป็นสีส้มหรือน้ำตาลแดง ชาฝรั่งจะนิยมใช้ยอดชาพันธุ์อัสสัม เพราะชาอัสสัมจะมี สารโพลีพินอลสูง ชาประเภทนี้ ได้แก่ ชาคีมุนของจีน ชาของอินเดีย และชาของศรีลังกา


ชาขาว (White tea)

ได้จากการเลือกเก็บยอดชาที่อ่อนมาก คือยังมีขนเล็ก ๆ สีขาวปกคลุมยอดชาอยู่ ใบชาจะคงสภาพเหมือนใบชาสดและมีสีขาว นำมาผ่านไอน้ำทันที แล้วทำให้แห้ง ใบชาจะคงสภาพเหมือนใบชาสดและมีสีขาว น้ำที่ชงจากชาขาวจะมีใสถึงสีเหลืองอ่อน มีลักษณะใกล้เคียงกับชาเขียว ในแต่ละปีจะเก็บเกี่ยวยอดชาเพื่อนํามาผลิตชาขาวได้ในบางวันเท่านั้น


  ชาแต่งกลิ่น
      ชาเขียว  ชาอูหลง  หรือชาฝรั่ง  สามารถนำมาตกแต่งกลิ่นโดยผสมหรือใส่เครื่องเทศ  สมุนไพร   กลีบดอกไม้   หรือน้ำมันหอมระเหยต่าง ๆ   ลงไปในใบชาก่อนบรรจุ  การแต่งกลิ่น  ต้องไม่ทำให้รสชาติของชาผิดแปลกออกไป  ในสมัยก่อนชาวจีนได้ใส่กลิ่นรสต่าง ๆ  ลงไปในชา  เช่น  ใส่ดอกไม้   ผลไม้  ลงไปในชา   ชาจีนบางชนิดอาจมีกลิ่นหอมธรรมชาติของกล้วยไม้ป่า  เพราะมีกล้วยไม้ป่าขึ้นอยู่ในสวนชา   หรือมีกลิ่นดอกไม้   หรือผลไม้    เนื่องจากในช่วงที่ต้นชาสร้างยอดและใบใหม่    ใบชามีคุณสมบัติดูดกลิ่นได้    การเรียกใช้ชื่อผลไม้   ดอกไม้    หรือเครื่องเทศที่ใส่ลงไป   เช่น   ชามะลิ   ชากุหลาบ   ชาลิ้นจี่   เป็นต้น




ชาเขียว  ชาอูหลง  หรือชาฝรั่ง  สามารถนำมาตกแต่งกลิ่นโดยผสมหรือใส่เครื่องเทศ  สมุนไพร   กลีบดอกไม้   หรือน้ำมันหอมระเหยต่าง ๆ   ลงไปในใบชาก่อนบรรจุ  การแต่งกลิ่น  ต้องไม่ทำให้รสชาติของชาผิดแปลกออกไป  ในสมัยก่อนชาวจีนได้ใส่กลิ่นรสต่าง ๆ  ลงไปในชา  เช่น  ใส่ดอกไม้   ผลไม้  ลงไปในชา   ชาจีนบางชนิดอาจมีกลิ่นหอมธรรมชาติของกล้วยไม้ป่า  เพราะมีกล้วยไม้ป่าขึ้นอยู่ในสวนชา   หรือมีกลิ่นดอกไม้   หรือผลไม้    เนื่องจากในช่วงที่ต้นชาสร้างยอดและใบใหม่    ใบชามีคุณสมบัติดูดกลิ่นได้    การเรียกใช้ชื่อผลไม้   ดอกไม้    หรือเครื่องเทศที่ใส่ลงไป   เช่น   ชามะลิ   ชากุหลาบ   ชาลิ้นจี่   เป็นต้น



ชาแผ่น / ชาแท่ง



      เป็นผลิตภัณฑ์ชาที่ได้จากการนำชาจีนหรือชาฝรั่งมาอัดเป็นก้อนเพื่อสะดวกในการพกพา  เมื่อต้องการดื่มเพียงบิใส่ภาชนะ  เติมน้ำร้อนลงไป  จะได้น้ำชาพร้อมดื่ม  ชาอัดเริ่มทำในสมัยราชวงศ์ถัง  โดยนำใบชามานึ่งแล้วอัดเป็นก้อน  ทิ้งไว้ให้แห้ง  ในปัจจุบันใช้ชาผงอัดด้วยความดันเป็นแผ่นยาว  แผ่นกลม  ลูกบอล  รังนก  หรือมีลักษณะรูปร่างแตกต่างกันออกไป  ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้นิยมบริโภคในแถบตะวันออกกลาง  รัสเซียตอนใต้  ธิเบต  ประเทศจีนแถบตะวันตกเฉียงเหนือ



.  ชาสำเร็จรูป




      เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นผงหรือเกล็ดละลายน้ำ      โดยทำการสกัดสารในใบชาออกมาเป็นชาเข้มข้น   น้ำชาเข้มข้นถูกทำให้แห้งเป็นของแข็ง   โดยการฉีดพ่นสารละลายชาเข้มข้นผ่านอากาศร้อนหรือความเย็น     ระเหยน้ำออกไปภายใต้สุญญากาศ     เมื่อจะดื่มนำมาชง  สามารถละลายน้ำได้ทันที    สะดวกต่อการบริโภค   การผลิตชาสำเร็จรูปสามารถใช้เครื่องจักรกลในการเก็บเกี่ยวมากขึ้น  สามารถขนส่งไปยังประเทศผู้บริโภคได้สะดวก   ช่วยลดต้นทุนการขนส่ง   เช่น  ชาผงสำเร็จรูปเนสที    เป็นต้น







ชาพร้อมดื่ม




      เป็นการผลิตน้ำชาบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  น้ำชาธรรมดา  น้ำชาที่เติมกลิ่นและสี เช่น  กลิ่นรสมะนาว  ราสเบอรี่  พีช  เป็นต้น  บางครั้งเติมน้ำตาลบรรจุในกระป๋องหรือขวด  ทำให้สะดวกต่อการบริโภคและการขาย  น้ำชาประเภทนี้เป็นที่นิยมของวัยรุ่น  โดยเฉพาะประเทศที่มีอากาศร้อน  และนิยมดื่มชาเย็น

 
เมี่ยงหรือชาหมักดอง เป็นผลิตภัณฑ์ชาของท้องถิ่นทางภาคเหนือของประเทศไทย โดยการนำใบชาสด มามัดเป็นกำ นึ่งแล้วมักทิ้งไว้จนใบชาเปลี่ยนสภาพเป็นสีเหลือง ใบยุ่ย จึงนำมาบริโภค นิยมใช้เป็นของขบเคี้ยว หรืออมเป็นของว่างระหว่างการทำงาน ยามว่างหลังอาหาร หรือชงดื่มกับน้ำร้อน ช่วยผ่อนคลาย ความเหน็ดเหนื่อย ปัจจุบันมีอยู่หลายชนิด เช่น เมี่ยงหวาน เมี่ยงเค็ม เมี่ยงหมี่ เมี่ยงขิง เมี่ยงใส่กระเทียมดอง เป็นต้น





ชาเมี่ยง

ตำนานชา ตอน ชาคืออะไร







ชา เป็นพืชที่นำมาทำเป็นเครื่องดื่ม   เป็นที่นิยมบริโภคของคนทั่วโลกเช่นเดียวกับกาแฟและโกโก้  โดยจีนเป็นประเทศแรกที่เริ่มนำชามาทำเป็นเครื่องดื่มเมื่อกว่า  2, 000 ปีที่แล้ว จากนั้นความนิยมในการดื่มน้ำชาก็ได้แพร่กระจายไปทั่วโลก   ทั้งในทวีปอเมริกา   ยุโรป   เอเชีย      และในบางประเทศของทวีปแอฟริกา

      แหล่งกำเนิดชาตามธรรมชาติ    มีจุดศูนย์กลางอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน   ใกล้ต้นน้ำ   อิระวดี  แล้วแพร่กระจายพันธุ์ไปตามพื้นที่  ลักษณะคล้ายรูปพัด  จากด้านทิศตะวันตก  ระหว่างเทือกเขานากา  มานิปุริ  และลูไซ่   ตามแนวชายแดนของรัฐอัสสัม   และสหภาพพม่า   ไปยังมณฑลซีเกียงของจีนทางด้านทิศตะวันออก  แล้วลงสู่ทิศใต้ตามเทือกเขาของสหภาพพม่า   ตอนเหนือของไทยไปสิ้นสุดที่เวียดนาม  โดยมีอาณาเขตจากด้านทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตก  กว้างถึง  1,500  ไมล์  หรือ 2,400  กิโลเมตร  ระหว่างเส้นลองจิจูด  95 – 120  องศาตะวันออก และจากทิศเหนือจรดทิศใต้  ยาว  1,200  ไมล์ หรือ  1,920  กิโลเมตร  ระหว่างเส้นละติจูดที่  29 – 11 องศาเหนือ

      ชามาจากพืชตระกูลคาเมลเลีย (Camelliea)  มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Camelliea sinensis ถิ่นกำเนิดอยู่ในอินเดียและจีน มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม   ใบแหลมสีเขียว     ดอกสีขาวมีกลิ่นหอม     เมื่อปล่อยให้โตตามธรรมชาติสามารถสูงได้ถึง  20  เมตร  แต่ในการทำไร่ชามักจะเลี้ยงไว้ที่ความสูง  3 – 5   เมตร  และตัดแต่งกิ่งให้ส่วนบนเป็นพื้นราบ  เพื่อสะดวกในการเก็บยอดชาที่จะผลิออกมาใหม่

     ส่วนของต้นชาที่นำมาเป็นเครื่องดื่มจะอยู่ในส่วนบนของต้น  ซึ่งเป็นตำแหน่งของการผลิใบอ่อนและการแตกหน่อ    ซึ่งเป็นส่วนที่มีคุณภาพดีที่สุด



ชา สามารถแยกอย่างง่ายๆ ได้ 6 ประเภท ได้แก่ ชาขาว ชาเหลือง ชาเขียว ชาอูหลง ชาดำ และชาผูเอ่อร์ แต่ที่พบเห็นได้ทั่วไป ได้แก่ ชาขาว ชาเขียว ชาอูหลง และชาดำ ซึ่งชาทุกชนิดสามารถทำได้จากต้นชาต้นเดียวกัน แต่ผ่านกรรมวิธีแตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตาม ชาขาวคุณภาพดี ต้องปลูกโดยวิธีพิเศษ ส่วนชาผูเอ่อร์ ซึ่งเป็นชาที่ได้รับการหมักบ่ม ยังใช้เป็นยาได้ด้วย

คำว่า "ชาสมุนไพร" นั้น หมายถึง น้ำที่ชงจากสมุนไพร ใบไม้ ดอกไม้ หรือผลไม้ ของพืชอื่นๆ ที่ไม่มีส่วนผสมจากต้นชา ส่วนคำว่า "ชาแดง" นั้น หมายถึง น้ำที่ชงจากชาดำ (ใช้เรียกกันในเอเชียตะวันออก เช่น จีน เกาหลี และญี่ปุ่น เป็นต้น) และน้ำที่ชงจากต้นรอยบอส (Rooibos) ของประเทศแอฟริกาใต้ 
ในประเทศไทย เครื่องดื่มชาที่เป็นที่นิยม ได้แก่ ชาไทย ชานม ชามะนาว ชาไข่มุก และชาเขียว 

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ตำนานกาแฟ ตอน ดูแบบขำๆ

 

อะเมซิ่งไทยแลนด์ มันมาถึงวงการกาแฟแล้ว!


รวย

อยู่ริมทางก่อนขึ้นเขาใหญ่

..........................

ชงให้อร่อยๆ นะป้า ..อุ้ยห์!


ป้ายรถเข็นกาแฟเจ้าหนึ่งที่ตลาดน้ำคลองลัดมะยม
....................................................

ฮั่นแน่ มีแทรกมุกประปราย



ณ ร้านกาแฟแห่งหนึ่งใน จ.สมุทรสงคราม
.........................
ขอกาแฟจงอยู่กับท่าน


ร้านกาแฟเปิดท้ายรถตู้ในซอยหนึ่งแถวๆ สาทร
.......................................

เขาว่าผู้หญิงก็เหมือนกาแฟ



.......................................

งั้นโอเลี้ยงแก้วละกันเจ๊



(ร้านกาแฟที่เชียงคาน ซ.9)

ตำนานกาแฟ ตอน พัฒนาร้านกาแฟ


จาก ผู้ชายพายเรือ



สภากาแฟย่อยๆ





รถเข็นกาแฟเจ้าอร่อยมาแล้ว


พัฒนามาเป็นรถกาแฟติดเครื่อง





อัพเกรดเป็นซุ้มกาแฟ





รถกาแฟมาบริการแล้วจ้า




เข้า 7-11 ไปกดกาแฟทานได้




เข้าปั๊มน้ำมันมีร้านกาแฟ



กาแฟบนดอย  ลงมาสู่พื้นราบ





อินเทรนเป็นร้านกาแฟหรู




สุดท้ายกลายเป็นกาแฟระดับสากล


ตำนานกาแฟ ตอน ร้านกาแฟ นรสิงห์ ณ วังพญาไท




ร้านกาแฟนรสิงห์ในปัจจุบัน เกิดจากคณะกรรมการมูลนิธิอนุรักษ์พระราชวังพญาไท อยากให้ชาวกรุง ได้มีโอกาสสัมผัสกับบรรยากาศของร้านกาแฟแห่งแรกของเมืองไทย จึงได้มีแนวคิดเปิดร้านกาแฟนรสิงห์ขึ้น โดยใช้อาคารเทียบรถพระที่นั่งเป็นสถานที่ที่ตั้งร้าน โดยทำการตกแต่ง สไตล์พระราชวังเก่า ในยุครัชสมัยของ ล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ทั้งความหรูหรา ผสมกับความคลาสสิคที่เข้ากันได้ดีอย่างลงตัว ประหนึ่งว่าเราได้ก้าวเข้าไปอยู่ในยุคนั้นเลยทีเดียว






ทั้งโซฟาและเก้าอี้นั่ง ก็จัดสร้างขึ้นใหม่ ให้เหมือนกับของใช้ ในพระราชวังสมัยก่อน ซึ่งถอดแบบมาจากของเดิม แล้วนำมาจัดสร้างขึ้นใหม่ ดูแล้วคลาสสิค เก๊า เก่าเหมือนของใช้สมัยก่อนจริงๆ





ภายในตกแต่งสไตล์คลาสสิค หรูหรา โดดเด่นด้วยศิลปกรรมชั้นเยี่ยมในสมัยก่อน ทั้งเพดาน โคมไฟของร้านกาแฟนรสิงห์ ก็ล้วนตกแต่งด้วยศิลปะชั้นสูงทั้งสิ้น










ตำนานกาแฟ ตอน ถ้วยกาแฟยุคก่อน

การอนุรักษ์สิ่งดีๆเก็บไว้ ไม่ใช่เรื่องน่าอายหรือตกยุคเลย

แต่มันเป็น บันทึกประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่มีชีวิตต่างหาก

หลายประเทศครับ ในประเทศที่เจริญแล้วมากๆทางเทคโนโลยี ก็ตาม ก็อนุรักษ์ความเป็นอยู่เดิมๆไว้ เพื่อบอกเล่าและถนอมวัฒนธรรมดีๆแบบมีชีวิตไว้ศึกษาและชื่นชม

มีทุกประเทศ และ เป็นจุดขายในการท่องเที่ยวแบบไม่ต้องแสดงละครด้วย


ทุกวันนี้ คนเมือง คนเจริญแล้ว ในยุคเทคโนโลยีล้ำยุคและสังคมบริโภคนิยมสมัยใหม่ กลับโหยหาสิ่งสามัญ หรือ ธรรมชาติ ยามที่ตนเองต้องการ การพักผ่อนอย่างจริงจัง

สำหรับคนที่ทำงานอยู่ตลอดในสังคมเมือง ห้อมล้อมไปด้วยความเจริญสมัยใหม่

หากวันนึงคุณตื่นขึ้นมา ..........ไม่มีเสียงรถ แต่ได้ยินเสียงนกร้อง
ไม่ได้กลิ่นไอเสียหรือกลิ่นขยะ  แต่ได้กลิ่นดินหญ้า อากาศโปร่ง

คุณได้กลิ่นกาแฟ หอมข้ามบ้านมาที่เตียง
มองไปลิบๆ เห็นผู้คนนั่งสนทนากัน และ มีกาแฟ อยู่บนโต๊ะ

บางทีมันอาจจะทำให้คุณสดชื่นมากกว่า การขับรถไปทำงานในช่วงจราจรติดขัด และต้องไปเข้าคิวซื้อกาแฟกินที่สตาร์บั๊ก















 
พัฒนาการรูปแบบถ้วยกาแฟ






 

ตำนานกาแฟ ตอนบรรยากาศร้านกาแฟแบบเก่าๆ


เยี่ยมชมร้านกาแฟโบราณ หลายคนคงจะเห็นเครื่องทำกาแฟโบราณ หม้อต้มกาแฟสมัยโบราณทำจากทองเหลือง หม้อต้มกาแฟมีอยู่ 2 ชั้น ชั้นบนใส่น้ำ ชั้นล่างสำหรับใส่ถ่าน

ในสมัยก่อนร้านกาแฟจะเป็นร้านที่ผู้คนเข้ามานิยมนั่งดื่มกาแฟชนิดต่างๆ ทั้งร้อนและเย็นในเวลาตอนเช้าและตอนเย็น และเมื่อขาคอกาแฟมาพบกันก็มักจะมีเรื่องพูดคุยกัน แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นอย่างสนุกสนาน แต่หากมีการพูดถึงการบ้าน การเมืองมากๆ ร้านกาแฟนี้จะถูกเรียกเล่นๆ ว่าสภากาแฟ

ที่กาแฟมีรสขมก็เพราะว่ามันจะเป็นการป้องกันตัวเองตามธรรมชาติจากการป้องกันแมลงมากัดกินกาแฟ แต่มนุษย์ก็มีวิธีการจัดการกับกาแฟโดยผ่านกระบวนการต่างๆ รสชาติและน้ำมันหอมระเหยของเมล็ดกาแฟจึงกลับกลายเป็นเสน่ห์ที่ทำให้คอกาแฟหลายๆ คนติดใจ






ร้านกาแฟ ตลาดสามชุก

ร้านกาแฟ สามชุก