วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ตำนานชา ตอน

ทุกวันนี้ ชาเป็นเครื่องดื่มที่นิยมดื่มกันมากในสหราชอาณาจักร คนอังกฤษดื่มชากันมากกว่า 14 ล้านลิตรต่อปี ซึ่งก็ประมาณ 4 ถ้วยต่อวัน ประเทศที่ส่งออกชามากที่สุดในโลกคืออินเดียและศรีลังกา และมากกว่าครึ่งหนึ่งของชาที่ส่งออกถูกดื่มโดยประเทศที่อยู่ในสหราชอาณาจักร

ชาวอังกฤษไม่ใช่ชาติแรกที่ดื่มชา หากแต่จะเป็นชาวจีนที่ได้ดื่มเครื่องดื่มชนิดนี้ ซึ่งพวกเขาเรียกว่า "ฉ่า" หรือ "เต๊" มาก่อนอย่างน้อย 4000 ปีก่อนที่ชาจะถูกส่งเข้าลอนดอนเป็นครั้งแรกในทศวรรษที่ 1630 ชาได้ถูกดื่มเป็นครั้งแรกโดยจักรพรรดิ์ เฉิน หนาง ของจีน ในปี 2737 ก่อน ค.ศ. จักรพรรดิ์ได้ออกเดินทาง และได้หยุดพักในบริเวณพุ่มไม้ ในขณะที่กำลังต้มน้ำไว้สำหรับดื่มอยู่นั้น ใบไม้ซึ่งต่อมานักพฤษศาสตร์เรียกมันว่า Cameillia sinesis หรือใบชา ก็ได้ปลิวตกลงไปในหม้อต้มน้ำขององค์จักรพรรดิ์ เมื่อจักรพรรดิ์ได้ดื่มน้ำ ก็ทรงพอพระทัยเป็นอย่างมาก และชาก็เป็นที่รู้จักตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวอังกฤษยังคงใช้คำแสลงในการพูดว่า "ชา" สำหรับชา ซึ่งมีการออกเสียงคล้ายคลึงกับภาษาจีนว่า "ฉ่า"

ชาวอังกฤษก็ยังไม่ใช่ชาติแรกในยุโรปที่เริ่มดื่มชา ชาวโปรตุเกสเป็นชาติแรกของยุโรปที่เดินเรือไปถึงประเทศจีนเมื่อปี ค.ศ.1513 ได้สังเกตว่าชาวจีนดื่มเครื่องดื่มชนิดหนึ่งที่มีกลิ่นแปลกๆ, ร้อน และมีสีน้ำตาล ซึ่งถือเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ในตอนแรกชาวจีนปฏิเสธที่จะขาย "ฉ่า" หรือ "เต๊" ให้กับชาวโปรตุเกส แต่ในที่สุด ชาวโปรตุเกสก็ได้รับอนุญาตในตั้งสถานีการค้าบริเวณชายฝั่งของประเทศจีน (มาเก๊า) ซึ่งได้เริ่มส่งชาและสินค้าอื่นๆ ของจีนกลับประเทศโปรตุเกส

ชาวอังกฤษคนแรกที่เดินทางมาถึงประเทศจีนคือ กัปตัน เวดเดล ซึ่งเดินเรือมาถึงท่าเรือที่มาเก๊า ในปี ค.ศ.1637 ต้องการที่จะเข้ามาทำการค้ากับประเทศจีน แต่เขากลับไม่เป็นที่ต้อนรับของชาวโปรตุเกสและชาวจีนนัก และการต่อสู้ก็ได้เริ่มขึ้น โดยอังกฤษมีเรือรบและปืนที่ทรงอนุภาพมากกว่า และในที่สุด กัปตัน เวดเดล ก็ได้รับอนุญาตในทำการค้าขายและเดินเรือกลับไปยังลอนดอนพร้อมกับสินค้าจำนวนมาก รวมไปถึงสิ่งที่เรียกว่า ชา ด้วย ซึ่งมันก็คือน้ำเปล่าที่มีสมุนไพรชนิดหนึ่งต้มอยู่ด้วย

หลายปีต่อมา น้ำที่มีสมุนไพรต้มอยู่ด้วยนี้ ยังไม่ได้ขายในสหราชอาณาจักร จนกระทั่งปี ค.ศ.1662 กษัตริย์อังกฤษคือ พระเจ้าชาลที่ 2 ได้แต่งงานกับเจ้าหญิงโปรตุเกสคือ แคทเธอลีน แห่งบากันซา ผู้ซึ่งนำความโชคดีมาสู่ลอนดอน ธุรกิจการขายชาเริ่มเกิดขึ้น ทำให้การดื่มชากลายเป็นสิ่งที่นิยมกันในลอนดอนและในที่สุดก็ขยายไปทั่วทั้งเกาะอังกฤษ

มีเพียงบริษัทเดียวเท่านั้น คือบริษัท ลอนดอน อีส อินเดีย จำกัด ที่ได้รับอนญาตจากรัฐบาลอังกฤษในการนำเข้าชาจากประเทศจีน และหลายปีต่อมา ชาก็มีราคาสูงขึ้นอย่างมาก ในปี ค.ศ.1664 มีราคาถึง 95 ชิลลิ่งต่อกิโลกรัม ในตอนนั้นเงินจำนวนนี้สามารถซื้ออาหารชั้นดีและไวน์ได้อีกขวด เฉพาะพวกคนที่มีฐานะเท่านั้นที่จะสามารถซื้อชาได้ และต้องระมัดระวังไม่ให้ดื่มมากจนเกินไป ดั่งของมีค่า ชาได้ถูกเก็บไว้อย่างดีในกล่องโลหะ เนื่องจากชาได้รับการคิดภาษีที่สูงมากโดยรัฐบาลอังกฤษ ทางเดียวที่คนจนจะสามารถดื่นชาได้ก็คือการลอบนำชาเข้าประเทศ และในไม่ช้า การนำเข้าชาที่ผิดกฎหมายก็กลายเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้กับอังกฤษ

ด้วยการนำเข้ามาอย่างผูกขาดของบริษัท อีส อินเดีย จำกัด กลายมาเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีความสำคัญและรวยที่สุดในโลกในปี ค.ศ.1772 อย่างไรก็ตาม บริษัทก็แทบจะล้มละลายเนื่องจากชามีราคาสูงมากเกินกว่าคนทั่วไปจะซื้อได้ ทำให้มีชาที่เหลือเก็บเป็นจำนวนมาก ทางรัฐบาลจึงอนุญาตให้ทำการส่งชาออกโดยปลอดภาษีไปยังประเทศอาณานิคมของอังกฤษในอเมริกาเหนือ โดยหารู้ไม่ว่าเป็นการวางแผนที่ผิดพลาดอย่างยิ่ง ชาวอเมริกันมีความโกรธแค้นต่อรัฐบาลอังกฤษมาก เพราะปรับสินค้าของอเมริกันให้มีการเก็บภาษีที่สูงขึ้น และการที่บริษัทของอังกฤษทำการขายชาที่ปลอดภาษีอย่างผูกขาดในอเมริกานั้น ทำให้ธุรกิจการค้าขายของอเมริกันต้องปิดกิจการไปเป็นจำนวนมาก

ความรู้สึกการต่อต้านอังกฤษทวีความรุนแรงมากขึ้นในอเมริกาซึ่งเป็นอาณานิคมอังกฤษ และเมื่อเรืออังกฤษ 3 ลำ ที่บรรทุกชาเข้าเทียบท่าเรือที่บอสตันในปี ค.ศ.1773 ฝูงชนชาวอเมริกันผู้โกรธแค้นก็ตัดสินใจใช้กำลังบุกเข้าไปในเรือบรรทุกชาแล้วนำชาทั้งหมดทิ้งลงทะเล (The Boston 'Tea Party' -- งานเลี้ยงน้ำชาที่บอสตัน) รัฐบาลอังกฤษตอบสนองโดยการส่งกำลังทหารเข้าไปในบอสตัน เกิดการต่อสู้ที่รุนแรง สงครามประกาศอิสรภาพก็ได้เริ่มต้นขึ้น ในที่สุดสงครามก็นำไปสู่ชัยชนะของฝ่ายอเมริกัน และได้ก่อตั้งเป็นประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้นในเวลาต่อมา

ไม่มีความคิดเห็น: